[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

 


ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองร้อยเอ็ด
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด



เอกสารประกอบการใช้หลักสูตร

1. หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2. สาระทักษะการเรียนรู้
3. สาระความรู้พื้นฐาน
4. สาระการประกอบอาชีพ
5. สาระทักษะการดำเนินชีวิต
6. สาระการพัฒนาสังคม
7. แนวทางการพัฒนาหลักสูตร
8. แนวทางการเทียบโอนผลการเรียน
9. แนวทางการจัดการเรียนรู้
10. คู่มือการดำเนินงาน

ความนำ

        กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่จัดการศึกษาให้กับประชาชน โดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 49 กำหนดว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระยะหลังมุ่งเน้นให้ "คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา" ทั้งนี้เพื่อรองรับกระแสโลกาภิวัฒน์ให้นำพาสังคมไปสู่ความมั่งคั่ง ยั่งยืน
        กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่จัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในระบบและนอกระบบ โดยให้ความสำคัญเท่าเทียมกัน ดังนั้น จึงได้มีคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สป.418/2551 ให้ใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ณ วันที่ 18 กันยายน 2551 เพื่อให้ใช้แทนหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลที่อยู่นอกระบบ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์จากการทำงานและการประกอบอาชีพ เป้าหมายการจัดการศึกษาจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนา การจัดการกับองค์ความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สร้างภูมิคุ้มกันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยคำนึงถึงธรรมชาติของการเรียนรู้ของผู้ที่อยู่นอกระบบ ที่มีเป้าหมายเพื่อนำความรู้ไปใช้ได้ทันที และเน้นเรื่องที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต

ปรัชญา "คิดเป็น"

        หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ยึดหลักปรัชญา "คิดเป็น" มาใช้ในการจัดการศึกษา
        ปรัชญา "คิดเป็น" อยู่บนฐานความคิดที่ว่า ความต้องการของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนมีจุดรวมของความต้องการที่เหมือนกัน คือ ทุกคนต้องการความสุข คนเราจะมีความสุขเมื่อตัวเรา ความรู้ทางวิชาการ สังคมและสิ่งแวดล้อม ผสมกลมกลืนกันได้ ก็จะมีความสุข โดยการคิดแบบพอเพียง พอประมาณ ไม่มากไม่น้อย เป็นทางสายกลาง สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล

        กระบวนการเรียนรู้ ตามปรัชญา "คิดเป็น" มีผู้เรียนสำคัญที่สุด โดยครูจะเป็นเพียงผู้จัดโอกาส กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์ ปัญหาหรือความต้องการ มีการเรียนรู้จากสภาพปัญหาของตนเอง อภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากข้อมูลจริง และตัดสินใจบนฐานข้อมูลที่เพียงพอและเชื่อถือได้ คือ ข้อมูลตนเอง วิชาการ ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ถ้าหากสามารถทำให้ปัญหาหายไป กระบวนการก็ยุติลง ถ้ายังไม่พอใจแสดงว่ายังมีปัญหาอยู่ ก็จะเริ่มกระบวนการพิจารณาทางเลือกใหม่อีกครั้ง กระบวนการนี้จะยุติลงเมื่อบุคคลพอใจและมีความสุข

 หลักการ

1. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างของบุคคลชุมชนและสังคม
2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตตามอัธยาศัย
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

จุดหมาย

1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิต และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
3. มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพ ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และตามทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
4. มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคม ได้อย่างมีความสุขตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ

เป้าหมาย (ประชากรและระดับการศึกษา)

1. ประชากรกลุ่มเป้าหมาย
    
ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน
2. ระดับการศึกษาเป้าหมาย
    
ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีมีการเทียบโอนผลการเรียน

โครงสร้างหลักสูตร


- รายวิชาบังคับ สำนักงาน กศน. พัฒนา ส่วนรายวิชาเลือก สำนักงาน กศน. และสถานศึกษา พัฒนาได้ตามความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคม
- ในแต่ละระดับ ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการทำโครงงานในรายวิชาเลือกอย่างน้อย 3 หน่วยกิต
- ผู้เรียนเลือกเรียนรายวิชาเลือกในสาระการเรียนรู้ใดสาระการเรียนรู้หนึ่ง หรือหลายสาระการเรียนรู้ก็ได้ ให้ครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนด

หมายเหตุ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ 2/2556 กพช.ปรับเป็น 200 ชั่วโมง

การลงทะเบียนเรียนรายวิชา

1. ระดับประถมศึกษา ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 16 หน่วยกิต
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 20 หน่วยกิต

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

วิธีการจัดการเรียนรู้

        วิธีเรียน กศน. มีวิธีเดียว แต่สามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบ โดยสถานศึกษาและผู้เรียนร่วมกันกำหนดรูปแบบการเรียนในแต่ละรายวิชา โโยเลือกรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือหลายรูปแบบก็ได้ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเนื้อหาวิชา และสอดคล้องกับวิถีชีวิตและการทำงานของผู้เรียน

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

        กำหนดให้ผู้เรียนทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวนไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง เพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม ซึ่งเกิดจากผู้เรียนเป็นผู้เสนอกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเอง

การจัดกระบวนการเรียนรู้ (ONIE MODEL)

        การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญา "คิดเป็น" โดยเน้นพัฒนาทักษะแสวงหาความรู้ ประยุกต์ใช้ความรู้ และสร้างองค์ความรู้สำหรับตนเอง ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม

ขอบข่ายการเทียบโอนผลการเรียน

1. จากหลักสูตรที่เป็นระดับ
2. จากการศึกษาต่อเนื่อง
3. ความรู้และประสบการณ์จากกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
4. จากหลักสูตรต่างประเทศ
5. จากการประเมินความรู้และประสบการณ์

 หลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียน

1. เทียบโอนผลการเรียนในทุกภาคเรียน
2. เทียบโอนผลการเรียนเป็นรายวิชา
3. จำนวนหน่วยกิตที่เทียบโอนได้
    - ระดับประถมศึกษา ไม่เกิน 36 หน่วยกิต
    - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่เกิน 42 หน่วยกิต
    - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่เกิน 57 หน่วยกิต

การวัดและการประเมินผลการเรียน

 

หลักฐานการศึกษา

1. หลักฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
    1.1 ระเบียนแสดงผลการเรียน
    1.2 ประกาศนียบัตร
    1.3 แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา
2. สำนักงาน กศน. กำหนดเพิ่มเติม
    2.1 เอกสารบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
    2.2 แบบสรุปการประเมินผลการเรียนรายภาค

เกณฑ์การจบหลักสูตร

1. ผ่านการประเมินและได้รับการตัดสินผลการเรียนทั้ง 5 สาระการเรียนรู้และได้หน่วยกิตตามที่กำหนด
2. ผ่านกระบวนการประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง
3. ผ่านกระบวนการประเมินคุณธรรม
4. เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ

ขั้นตอนการดำเนินงาน

รายวิชาบังคับ



กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

     เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนา ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และกำหนดให้ผู้เรียนทุกระดับการศึกษาต้องเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมจำนวนไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง

 

 

 

 

 






 

 

 


























เข้าชม : 2626